รวมซีรีส์ รวมซีรีส์ยอดนิยมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

รวมซีรีส์ เริ่มเป็นที่นิยมในไทยได้อย่างไร

รวมซีรีส์ แต่เดิมนั้น คนไทยส่วนมากจะรู้จัก คำว่า ละคร ซึ่งเป็นการใช้ นักแสดงเข้ามารับบทบาท ในการดำเนินเรื่องจาก หนังสือหรือนวนิยาย ให้ออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหว ให้ผู้ชมได้รับชมกัน โดยส่วนมาก ละครไทย นั้นจะเน้นเนื้อหา ที่ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากเป็นที่นิยมกับคน ในสังคมจำนวนหนึ่ง แต่ละครบางเรื่อง ก็เน้นเนื้อหาที่สะท้อนสังคม เพื่อให้เป็นที่นิยมแก่สังคม อีกกลุ่มหนึ่ง เช่นเดียวกัน

ต่อมาได้มีสถานีโทรทัศน์ นำเอา ละครโทรทัศน์ เข้ามาฉายในบ้านเรา จึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ของ กระแสเกาหลี นอกจากในไทยแล้วยังได้ รวมซีรีส์ ที่ได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชีย และส่วนอื่นๆ ของโลกอีกด้วย นอกจากกระแสของเกาหลีแล้วนั้น ยังมีละครโทรทัศน์ จากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ที่เป็นที่นิยมในบ้านเรา

รวมซีรีส์

ได้แก่ ละครโทรทัศน์จากประเทศ เกาหลี จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฝรั่ง และแม้กระทั่งบ้านเรา ก็ได้มีการผลิตละคร ที่มีเนื้อหาน่าสนใจ ฉีกแนวออกไปจากเดิม เพื่อให้เกิดเป็นที่นิยม กับสังคมยุคใหม่อีกด้วย

และในนั้นเองคำว่า ละครทีวี ไม่เป็นที่นิยมเรียกเท่าไหร่นัก โดยทั่วไปผู้คนจะให้คำว่า ซีรีส์ แทนเนื่องจากเนื้อหาของละครนั้น มีโครงเรื่องหลักและเรื่องราวรวมๆ กัน โดยในเรื่องแต่ละตอน ตัวละครอาจจะแก้ปัญหา ในเรื่องหลักหรือหรือไม่ ก็ได้ หรืออาจจะทิ้งไว้เฉยๆ โดยไปแก้ปัญหาเรื่องรอง ของแต่ละตอนอย่าง ฉะนั้นตัวรองๆ เหล่านั้น จะต้องมีความเป็นมนุษย์ พร้อมๆกัน อยู่ในเรื่องๆเดียวกัน

ความแตกต่างระหว่าง ละครและซีรีส์ มีอะไรบ้าง

ละครสมัยเก่า ที่จะมุ่งแก้ปัญหาหลัก และ ใหญ่ เพียงอย่างเดียว และเหตุการณ์เหล่านี้ อาจจะเกิดกับแค่กลุ่มคนเล็กๆ ในสังคมของเรื่องๆ นั้น โดยทุกตัวละคร ต่างมีปฏิสัมพันธ์กับตัวเอก ไม่ใช่พระเอกหรือนางเอกนะคะ เพื่อร่วมกัน พร้อมกัน ขัดกัน หรือ แม้แต่ฆ่ากันก็ย่อมทำได้ เพื่อให้อุปสรรคเหล่านั้นถูกแก้ไขลง

นอกเรื่องนิดหน่อย สังเกตุไหมคะว่า มันเหมือนกับอะไร ภาพยนตร์? ใช่ค่ะ เพราะภาพยนตร์นั้น สามารถนำไปทำละครเรื่องยาวได้.. และละครสามารถนำไปสร้าง เป็นภาพยนตร์ได้อีกเช่นกัน.. เพราะทั้งสองสิ่งนี้ มีเหมือนกันคือ แก้ปัญหาหลักได้ เรื่องก็จบลงได้ แต่ผิดกับละครซี่รีย์ ที่มีน้อยเรื่อง ที่จะเอาไปทำเป็นภาพยนตร์ได้ คือเอาไปทำภาพยนตร์ ได้แต่เรื่องจะจบหรือเปล่า? อันนี้ก็ไม่สามารถจะรู้ได้

รวมซีรีส์

และพี่ฝรั่งหัวใสคนเดิม จึงใส่ความลงท้ายชื่อมันว่า เดอะ มูฟวี่ หมายความว่า เรื่องนี้จะจบตอนไหนก็ได้ โดยไม่ต้องตามแบบแผนของละครซีรีย์ก็ได้นะ เพราะว่าเราทำมาแล้วจะแปลงบท ตัดทอน เปลี่ยนเค้าโครง แค่อิงชื่อ ก็ย่อมทำได้ คนดูที่รักซีรีย์พอมาดูหนังใหญ่ จึงผิดหวังไปตามๆกัน 555 โดยจะมีวลีติดปากว่า เฮ้ย แม่งทำไม่เหมือนในทีวีว่ะ และคิดไปเองว่า  …เพราะเวลาฉายน้อย มันรีบจบจะได้ทันเวลาฉาย
ทั้งทีความจริงแล้วเราเอง ต้องเลือกดูให้ถูกที่ถูกทาง ก็จะได้อรรถรสนั้น เต็มๆ

ต่อมาก็คือ…สิ่งที่สังเกตุได้ว่า มันคือซีรีย์ คือการแบ่งเป็น ซีซัน หรือแบ่งเป็น ตอนๆ ซีซันนี้อาจจะเป็นปมปัญหา ของตัวละครนี้ ซีซันหน้าอาจจะเป็นปมของเรื่องนั้น แต่ทุกตอนปัญหารอง ของละครซีรี่ย์ต้องจบ สิ่งที่เกินมาอาจจะเรียก เสน่ห์ของเรื่อง เปรียบได้ดั่งละครไทย เช่น เซน สื่อรักสื่อวิญญาณ ซึ่งหลายๆเรื่อง ก็มีลักษณะของซีรีย์ เช่น บางรักซอย9 ผู้กองเจ้าเสน่ห์ แต่ด้วยลักษณะนิสัยของผู้ชมคนไทย ที่ไม่เรื่องชอบเรื่องซับซ้อน
สิ่งซับซ้อนเหล่านี้ มิใช่คำว่า วิทยาศาสตร์ประการใด แต่หมายถึงหลายๆ เรื่องพร้อมกัน ปัญหาพร้อมๆกัน ซีรีย์เหล่านี้ จึงถูกกลายร่าง ให้กลายเป็นละครเบาสมอง ที่เรียกว่า ละครซิทคอม นั่นเอง

รวมซีรีส์ ยุคแรกๆ ของแต่ละประเทศ ที่เริ่มเข้ามาฉายในไทยนั้น มีเรื่องอะไรบ้าง

โดยแบ่งเป็น ซีรีส์ต่างๆ ดังนี้ 

ซีรีส์ญี่ปุ่น – เริ่มเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ถึงปี พ.ศ.2549 ได้แก่ 

1. สื่อรักออนไลน์ (With love)

ซีรีส์ปี 1998 / ออกฉายในไทย : ปี พ.ศ.2542 ทางช่อง iTV
นำแสดงโดย ยูทากะ ทาเกะโนอุจิ และ มิซาโตะ ทานากะ

ซีรีส์เรื่องแรกที่ออกอากาศทางไอทีวี สนุกมากๆ เพลงเพราะมาก คุณฮาตะ กับตุ๊กตาไล่ฝน 

รวมซีรีส์

2. ร้อนนักต้องพักร้อน (Beach Boys)

ซีรีส์ปี 1997 / ออกฉายในไทย : ปี พ.ศ.2542 ทางช่อง iTV
นำแสดงโดย ทาคาชิ โซริมาจิ และ ยูทากะ ทาเคอุจิ

ดูเรื่องนี้แล้วรับรู้ได้ถึงบรรยากาศของไอแดด และท้องทะเล นางเอกใสใส น่ารักมาก

3. อยู่เพื่อรัก (Precious Time)

ซีรีส์ปี 1998 / ออกฉายในไทย : ปี พ.ศ.2543 ทางช่อง iTV
นำแสดงโดย ทาเคชิ และ เคียวโกะ ฟูกาดะ

ดูตอนแรกแล้วถึงกับต้องตบโต๊ะ! ทำไมเป็นแบบนี้ สะเทือนใจคนดูเหลือเกิน

รวมซีรีส์

4. GTO ครูซ่าส์ปราบขาโจ๋ (Great Teacher Onizuka)

ซีรีส์ปี 1998 / ออกฉายในไทย : ปี พ.ศ.2543 ทางช่อง iTV
นำแสดงโดย ทาคาชิ โซริมาจิ และ นานาโกะ มัตสึชิมะ

ต้นฉบับซีรีส์ครูสุดเฟี้ยว ดูแล้วอยากได้ครูแบบนี้! อ่อ ซีรีส์ GTO ถูกนำมา Reboot ใหม่ปี 2012 ด้วยนะ

5. วุ่นนักรักซะเลย (Long Vacation)

ซีรีส์ปี 1996 / ออกฉายในไทย : ปี พ.ศ.2544 ทางช่อง iTV
นำแสดงโดย ทาคุยะ คิมูระ,โทโมโกะ ยามางูจิ, ทาคาโกะ มัตสึ และยูทากะ ทาเคโนอุจิ

ใครที่มีความฝันเกี่ยวกับเสียงเพลง ต้องดู! แรงบันดาลใจมาเต็ม

6. รักนี้เพื่อเธอ (Love Generation)

ซีรีส์ปี 1997 / ออกฉายในไทย : ปี พ.ศ.2544 ทางช่อง iTV
นำแสดงโดย ทาคุยะ คิมูระ และทาคาโกะ มัตสึ

ฉากหวานก็ฟินกันกระจาย พ่อแง่แม่งอนกันน่าร๊ากมากๆ

เพิ่มเติมซีรีส์ต่อที่ >>>> ซีรีส์ญี่ปุ่น

ถึงเวลาที่ควรปรับ ละครไทยแบบไหน ถึงจะอยู่รอดได้

ในปี พ.ศ. 2557 หลังจากมีการออกอากาศ โทรทัศน์ระบบดิจิตัล ในประเทศไทย ช่อง 3 และช่อง 7 ซึ่งครองตลาดละคร เริ่มมีช่องอื่นหันมา ทำละครโทรทัศน์ แนวละครของช่อง 8 ที่มุ่งเน้นตอบโจทย์ผู้บริโภค ในระดับฐานราก โดยเป็นแนวละครบ้าน ๆ สำหรับ ช่องวัน ที่มุ่งเน้นผลิตละคร เจาะกลุ่มคนดูทั่วไป ในขณะที่ GMM CHANEL มุ่งไปที่กลุ่มวัยรุ่น

คนดูหลักคือ คนดูในประเทศ ซึ่งมีคนอยู่ 67 ล้านคน และกำลังซื้อ คนส่วนใหญ่มีไม่มากนัก ค่าทำละครของเราก็ไม่ได้สูง เมื่อเทียบอัตราส่วนการลงทุนละคร หรือซีรีส์เรื่องหนึ่งกับต่างประเทศ ที่คนดูเขามากกว่าหลายเท่า  และตลาดขนาดใหญ่กว่า กำลังซื้อคนดูมากกว่า และมีคนดูทั่วโลก การลงโฆษณาสปอนเซอร์ของเขา หรือการทำการตลาดของเขา จึงคุ้มค่าการลงทุนมากกว่า ของบ้านเรามีละครให้ดูทั้ง ปีแบบบ้านอื่นเมืองอื่น ดีมั่งไม่ดีมั่ง นานๆมีละครลงทุนสูงทำดีๆ ซะที ก็ถือว่าทำได้ดีที่สุดเท่าที่ คนทำละครในบ้านเรา จะทำได้แล้ว เพราะทุกเจ้าทำกันเอง หาทุนกันเอง

กรณีน่าศึกษาคือ เกาหลีใต้ ที่วงการหนังและละคร ของเขาเฟื่องฟูยิ่งใหญ่มาก ทั้งที่ประชากรเขาน้อยกว่าเรา แต่ค่าลงทุนทำละคร หรือซีรีส์ถือว่าสูงมาก ตลาดคนดูมีกำลังซื้อสูงกว่า และที่สำคัญ ภาครัฐสนับสนุนด้วยนโยบายเผยแพร่สื่อ ของตัวเองออกนอกประเทศ ให้เป็นสินค้าส่งออก โดยไม่มาเกี่ยงงอนว่า ต้องอนุรักษ์หรือสื่อ ให้เห็นแต่ด้านดีงาม ของวัฒนธรรมแบบภาครัฐบ้านเรา ดังจะเห็นได้จากซีรีส์ เกาหลีหลายเรื่อง มีวิพากษ์องค์กรราชการ มีเรื่องราวคอรัปชั่นฉ้อโกง หรือเรื่องท้าทายศีลธรรมก็มี และทำออกมาได้ดีมากด้วย

ดังนั้นแล้ว ซีรี่ส์และละครของเกาหลีใต้ จึงไปไกลกว่าบ้านเรามาก ทั้งเนื้อหาที่หลากหลายกว่า และคุณภาพในการผลิตที่สูงกว่า ตลาดก็ไม่ได้จำกัด แต่ในประเทศ เพราะภาครัฐสนับสนุน ตั้งแต่หัวจนหาง ช่วยดันซีรี่ย์ให้เป็นสินค้าส่งออก และภาครัฐมีความเข้าใจ ในสื่อมากกว่าภาครัฐบ้านเรา ที่ยังจมอยู่กับความคิดสไตล์ Propaganda ที่ต้องนำเสนอ แต่สิ่งดีงามเท่านั้น ซึ่งทำให้เนื้อหาขาดความหลากหลาย ดังจะเห็นได้จากการ สนับสนุนลงทุนของภาครัฐของเราที่ผ่านมา ให้ไปก็เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

เพราะยังไงคนก็ไม่ดู เพราะเนื้อหาที่ Base ให้แต่ต้องโชว์วัฒนธรรมดีงาม ยังไงก็ขาดความน่าสนใจ เพราะคนดูไม่ได้ อยากมาดูอะไรสวยงามยาวๆ หนังหรือละครมันต้องมี Conflict เรื่องราวที่ดีๆ ที่จะดึงดูดให้คนติดตามเรื่องไปได้ตลอด ยกตัวอย่างก็ โหมโรง เป็นต้น

เพราะโดยหลัก คนที่มีเงินมากที่สุดคือ ภาครัฐ แต่วิธีคิดของภาครัฐของเรายังล้าหลัง ก็จนกว่าจะปลดล็อก ความคิดของภาครัฐได้ เอกชนคนทำละครก็ต้อง ดิ้นรนกันไปอย่างนี้ ทำละครเนื้อหาวนไปวนมา เพราะเสี่ยงทำเนื้อหาแหวกก็เรตติ้งไม่ดี โฆษณาไม่เข้า ละครก็ขาดทุน

adh-ng.com

helpcathy.com

e-jlb.com

affiliateliferadio.com